มีหนี้เยอะอ่านด่วน! รายชื่อสถาบันการเงิน “มาตรการรวมหนี้” ทั้งในธนาคารและต่างธนาคาร
อัปเดตรายชื่อสถาบันการเงินที่มี มาตรการรวมหนี้ ทั้งในธนาคารและต่างธนาคาร สามารถรวมหนี้สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อเงินให้กู้ยืมรายย่อย ประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ลดภาระดอกเบี้ย และการผ่อนค่างวดในระยะยาว สามารถรวมหนี้ในธนาคารเดียวกัน รับโอนหนี้รายย่อย จากธนาคารอื่นรวมกับสินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์โดยรับโอนหนี้รายย่อย และสินเชื่อบ้านจากธนาคารอื่นได้ดังนี้..
มาตรการสนับสนุนการรวมหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้สถาบันการเงินผ่อนปรนให้ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อเงินให้กู้ยืมรายย่อยประเภทอื่นเข้าด้วยกัน โดยขยายขอบเขตจากเดิมที่ดำเนินได้เฉพาะแบงก์เดียวกันให้สามารถรวมหนี้ข้ามแบงก์ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ยและการผ่อนค่างวดให้แก่ลูกหนี้ในเวลาระยะยาว.
การปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยวิธีการรวมหนี้
ซึ่งเป็นการรวมหนี้สินเชื่อบ้าน กับสินเชื่อเงินกุ้รายย่อย เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ย และการผ่อนค่างวด โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านไม่เพิ่มขึ้นจากเดิม และในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกุ้รายย่อยอื่น ๆ กำหนดไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านภายหลังช่วงจัดรายการส่งเสริมการขาย (teaser rate) บวก 2% ต่อปี
สำหรับรูปแบบการรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
1. การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
2. การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
3. การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อเงินให้กุ้ยืมรายย่อยประเภทอื่นๆไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้มาด้วย
ประโยชน์ของการรวมหนี้
1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมรายย่อยลดลงเมื่อนำมารวมหนี้ ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
2. ชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น เพราะเหลือหนี้ก้อนเดียว และอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว
3. ลูกหนี้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต หากเจรจารวมหนี้สำเร็จตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้เสีย
ส่วน มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์
– ทางธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการห้ามสถาบันการเงิน/ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับของแบงก์ชาติ เรียกเก็บ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อเงินกุ้ก่อนครบกำหนด (prepayment fee)** ของสินเชื่อเงินให้กู้ยืมส่วนบุคคล หรือสินเชื่อเงินให้กุ้ยืมรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนด
– ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนครบกำหนด คือ ค่าปรับที่ลูกหนี้ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้ในกรณีที่ปิดสินเชื่อก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยทั่วไปการรีไฟแนนซ์อาจไม่คุ้มค่า หากค่าปรับส่วนนี้สูงกว่าดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ประหยัดจากการรีไฟแนนซ์ได้
สิ่งที่ลูกหนี้ควรรู้
1. ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้
2. ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้
3. ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อัปเดตข้อมูลเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2655 ว่า มีธนาคารใดบ้าง ที่ยังสามารถเข้าร่วม มาตรการรวมหนี้ได้ โดยการเข้าร่วมมาตรการรวมหนี้ ลูกหนี้สามารถติดต่อสถาบันการเงินโดยตรง เพื่อสมัครเข้าร่วมมาตรการได้ที่
– ธนาคารกรุงเทพ 1333 , 0-2645-5555
– ธนาคารกรุงไทย 0 -2111-1111
– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1572
– ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888
– ธนาคารเกียรตินาคินภัทร 0-2165-5555
– ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย 0-2626-7777
– ธนาคารทหารไทยธนชาต 1428
– ธนาคารทิสโก้ 0-2080-6000, 0-2633-6000
– ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย 0-2203-6500,0-2697-5454
– ธนาคารไทยพาณิชย์ 0-2777-7777
– ธนาคารยูโอบี 0-2285-1555
– ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) 0-2629-5588
ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย